ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน

เจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน (อังกฤษ: Her Royal Highness Crown Princess Victoria of Sweden; สวีเดน: Hennes Kungliga H?ghet Kronprinsessan Victoria, Sveriges kronprinsessa; พระนามเต็ม วิกตอเรีย อิงกริด อลิซ เดซิเร; 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 — ) เป็นรัชทายาทอันดับหนึ่งในราชบัลลังก์สวีเดน หากเมื่อเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ พระองค์จะทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถลำดับที่สี่ของประเทศ (ต่อจาก สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 1 สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินา และสมเด็จพระราชินีนาถอุลริคา เอเลโอนอรา)

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 7 ของราชนิกุลรุ่นเยาว์ที่เซ็กซี่มากสุดในโลก

เจ้าหญิงประสูติเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ณ โรงพยาบาลแคโรลินสกา ในกรุงสต็อกโฮล์ม โดยเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟและสมเด็จพระราชินีซิลเวีย และเป็นสมาชิกในราชวงศ์เบอร์นาดอตต์ อีกทั้งมีเชื้อสายส่วนใหญ่เป็นเยอรมัน พระองค์ทรงเป็นรัชทายาทผู้มีสิทธิ์โดยตรง (heir-apparent) ซึ่งเป็นสตรีเพียงองค์เดียวในโลก[ต้องการอ้างอิง] (แม้มีรัชทายาทหญิงในราชบัลลังก์อยู่อีกหลายองค์ แต่เป็นเพียงพระธิดาองค์ใหญ่ในรัชทายาทหรือมกุฎราชกุมาร)[ต้องการอ้างอิง] และทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้าหญิงมกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน (HRH The Crown Princess) นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังทรงอยู่ในอันดับที่ 192 ของลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ โดยผ่านทางพระชนก ซึ่งเป็นพระปนัดดาในเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งคอนน็อต พระราชนัดดาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร จึงทำให้ทรงมีศักดิ์เป็นพระประยูรญาติ (เช่นเดียวกับสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน คาร์ลอสที่ 1 แห่งสเปน) ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 หากเมื่อเจ้าหญิงเสวยสมบัติจะทรงได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสวีเดน

พระนามเรียกขานทั้งหมดของเจ้าหญิงวิกตอเรียเป็นการให้เกียรติแก่พระญาติต่างๆ โดยพระนามแรกมาจากเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งบาเดิน พระเปตามหัยยิกา (ย่าทวด) และพระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 5 (แต่ก็เป็นการถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียด้วย) ส่วนพระนามอื่นๆ มาจากเจ้าหญิงอิงกริดแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก; อลิซ ซอมเมอร์ลาธ (สกุลเดิม เด โตเลโด) คุณยายชาวบราซิล และเดซิเร คลารี พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 15 โยฮันแห่งสวีเดน และอดีตคู่หมั้นของนโปเลียน โบนาปาร์ต

เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงเข้ารับบัพติศมาเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2520 ณ มหาวิหารหลวง ในกรุงสต็อกโฮล์ม โดยมีพระบิดาและพระมารดาทูนหัว คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ ราล์ฟ ซอมเมอร์ลาธ ซึ่งเป็นพระเชษฐาของสมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และเจ้าหญิงเดซิเร่แห่งสวีเดน บารอนเนสซิลฟ์แวร์สคิเอิลด์ พระปิตุจฉา

เจ้าหญิงวิกตอเรียเป็นพระมารดาทูนหัวให้กับพระโอรสธิดาของพระราชวงศ์อื่น ส่วนมากเป็นอนาคตรัชทายาทในราชบัลลังก์คือ เจ้าหญิงอิงกริด-อเล็กซานดราแห่งนอร์เวย์ เจ้าหญิงคาธารีนา-อาเมเลียแห่งเนเธอร์แลนด์ และ เจ้าชายคริสเตียนแห่งเดนมาร์ก รวมไปถึงเจ้าหญิงเอเลโอนอร์แห่งเบลเยียม

เจ้าหญิงทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารีและรัชทายาทลำดับแรกแห่งราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2523 จากการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติการสืบราชสมบัติแห่งปี พ.ศ. 2353 (Successionsordningen) ในปลายปี พ.ศ. 2522 การปฏิรูปรัฐธรรมนูญในครั้งนั้นหมายถึงเชื้อสายคนโตของพระมหากษัตริย์สามารถสืบราชสมบัติได้ไม่ว่าจะเป็นเพศใด สวีเดนเป็นประเทศแรกที่นำเอากฎหมายการสืบสันตติวงศ์โดยไม่คำนึงถึงเพศมาใช้ นอกจากจะทำให้เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงเป็นรัชทายาทหญิงในราชบัลลังก์สวีเดนแล้ว ยังทำให้ได้ทรงเป็นสตรีพระองค์แรกในลำดับการสืบราชสมบัติ การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากพระมหากษัตริย์ ซึ่งโปรดจะให้พระโอรสเป็นรัชทายาทลำดับที่ 1 และยังคงทรงมีความเห็นแบบนี้อยู่ เมื่อเจ้าหญิงทรงเป็นรัชทายาท ก็ยังมีพระอิสริยยศเป็นดัชเชสแห่งวาสเตอร์เกิตลานด์ ซึ่งเป็นชื่อมณฑลที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศสวีเดนอีกด้วย

ก่อนการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ รัชทายาทในราชบัลลังก์ ณ ขณะนั้นคือ เจ้าชายคาร์ล ฟิลิป ดยุกแห่งแวร์มลานด์ พระอนุชาในเจ้าหญิง ซึ่งปัจจุบันทรงอยู่ในลำดับที่สามของการสืบราชสมบัติ ต่อจากพระเชษฐภคินีและพระนัดดา เจ้าหญิงเอสแตล ดัชเชสแห่งเอิสเตอร์เยิตลันด์ นอกจากนี้ยังมีพระกนิษฐาอีกพระองค์หนึ่งคือ เจ้าหญิงมาเดอลีน ดัชเชสแห่งแฮลซิงลานด์และแกสตริคลานด์

เจ้าหญิงมกุฎราชกุมารีทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงพระราชอิสริยยศรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์สวีเดนอย่างเป็นทางการในงานพระราชพิธี ณ ห้องโถงใหญ่ พระราชวังหลวงสต็อกโฮล์มในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 โดยทรงกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้ารัฐสภาสวีเดน (Riksdag) เป็นครั้งแรก พระองค์ได้เสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการในฐานะตัวแทนของราชอาณาจักรสวีเดนอยู่หลายครั้ง โดยครั้งแรกเป็นการเสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่นช่วงฤดูใบไม้ร่วงในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งได้เสด็จไปส่งเสริมการออกแบบของประเทศสวีเดน ต่อมาได้เสด็จเยือนโคโซโวในปี พ.ศ. 2545 ประเทศอียิปต์และสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2546 และในต้นปี พ.ศ. 2547 เจ้าหญิงมกุฎราชกุมารีได้เสด็จเยือนประเทศซาอุดีอาระเบีย ในฐานะที่ทรงเป็นส่วนหนึ่งในคณะผู้แทนทางธุรกิจอย่างเป็นทางการกลุ่มใหญ่จากสวีเดน หนึ่งในการเสด็จเยือนต่างประเทศเป็นการส่วนพระองค์ครั้งล่าสุดคือ การเยือนประเทศฮังการีในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ และการเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียอย่างเป็นทางการครั้งล่าสุดของพระองค์ก็เพื่อไปส่งเสิรมการออกแบบของประเทศสวีเดน ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 พระองค์ทรงเข้าร่วมการสัมมนาทางธุรกิจของสวีเดนและการฉลองวันสวีเดนที่กรุงอังการา ประเทศตุรกีในช่วงการเสด็จเยือนในทางประวัติศาสตร์ซึ่งจัดถวายโดยสถานทูตสวีเดน ณ กรุงอังการาและคณะมนตรีการค้าแห่งสวีเดน ณ กรุงอิสตันบูล และได้เสด็จเยี่ยมชมสถานที่ทางประวัติศาสตร์หลายแห่งในกรุงอิสตันบูล อาทิ มัสยิดสีน้ำเงิน พระราชวังทอปกาปีและโบสถ์ฮาเจียโซเฟีย นับเป็นการเยือนประเทศตุรกีอย่างเป็นทางการครั้งแรกของประเทศสวีเดนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477

สื่อในประเทศสวีเดนได้ติดตามข่าวการหมั้นหมายและอภิเษกสมรสที่จะมีขึ้นของเจ้าหญิงวิกตอเรียมาเป็นหลายเวลาหลายปีนับแต่ทรงเริ่มมีความสัมพันธ์ และเมื่อในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ข่าวลือของการวางแผนงานอภิเษกสมรสซึ่งใกล้จะเกิดขึ้นกลายเป็นประเด็นสำคัญเกิดขึ้นก่อนหน้าในสภาคณะมนตรีระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีกับนายเฟรดริค ไรน์เฟลด์ นายกรัฐมนตรีแห่งสวีเดน ทั้งนี้ภายใต้ข้อกำหนดของพระราชบัญญัติการสืบราชสันตติวงศ์แห่งสวีเดน รัฐบาลต้องเห็นชอบการอภิเษกสมรสของเจ้าชายหรือเจ้าหญิงแห่งสวีเดน ตามพระราชบัญชาของพระมหากษัตริย์ มิเช่นนั้นเจ้าชายหรือเจ้าหญิงพระองค์นั้นต้องสละสิทธิในลำดับการสืบราชสมบัติ ในเวลาต่อมาของวันเดียวกัน จึงเป็นที่ยืนยันว่ามีพระบรมราชานุญาตออกมาและเจ้าหญิงวิกตอเรียจะทรงอภิเษกสมรสกับดาเนียล เวสต์ลิง ในช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2553 วันอภิเษกสมรสได้กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ณ มหาวิหารหลวง ในกรุงสต็อกโฮล์ม ซึ่งเป็นการครบรอบปีที่ 34 ในการอภิเษกสมรสของสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ และสมเด็จพระราชินีซิลเวีย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 และหลังจากการอภิเษกสมรส ดาเนียลจะได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าชายดาเนียล ดยุกแห่งวาสเตอร์เกิตลานด์ (Prince Daniel, Duke of V?sterg?tland) นับว่าเป็นครั้งแรกของราชวงศ์สวีเดนที่บุรุษสามัญชนมาเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงรัชทายาทและได้รับพระราชทานฐานันดรศักดิ์ นอกจากนี้สมาชิกในราชวงศ์เบอร์นาด็อตซึ่งได้อภิเษกสมรสในวันเดียวกันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีออสการ์ที่ 1 แห่งสวีเดน กับ ดัชเชสโยเซฟีนแห่งลอยช์เต็นแบร์ก เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2366 และ สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 15 แห่งสวีเดน กับ เจ้าหญิงหลุยส์แห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2393


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301